รับทำบัญชี

รับทำบัญชี (286)

วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที

อัตราเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

เขียนโดย

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม ค่าปรับอาญา ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้า
เบี้ยปรับเงินเพิ่ม-ค่าปรับอาญา

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม-ภาษีมูลค่าเพิ่ม

1.      ค่าปรับอาญา กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภพ.30 (ไม่เคยยื่นแบบมาก่อน)

         §  กำหนดการยื่นแบบ ภพ.30 ทุกวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

         §  กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน ปรับ 300 บาท

         §  กรณียื่นแบบเกินกำหนดเวลาและเกิน 7 วัน ปรับ 500 บาท

2.      เงินเพิ่ม

        §  คิดในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

       §  กรณีไม่มีภาษีต้องเสีย ก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จะเสียแต่ค่าปรับอาญากรณีไม่ยื่นแบบเท่านั้น

3.     เบี้ยปรับ การเสียค่าเบี้ยปรับแบ่งได้ 2 กรณี คือ

       §  กรณียื่นแบบเพิ่มเติม (ต้องมีการยื่นแบบปกติมาก่อนถึงจะยื่นเพิ่มเติมได้) กับ

      §  กรณีไม่เคยยื่นแบบมาก่อน (อาจจะลืมยื่นหรือมีเงินไม่พอจ่ายก็เลยไม่ยื่น)

   3.1กรณียื่นเพิ่มเติม คิดเบี้ยปรับในอัตรา 2% - 20%

     §  ถ้าชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2%

    §  ถ้าชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5%

    §  ถ้าชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10%

    §  ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20%

หมายเหตุ

      -ถ้ามีภาษีซื้อที่ลืมยื่นไม่สามารถนำมาหักออกได้นะคะ แต่สามารถนำมาขอคืนภาษีได้ตามปกติ ที่จริงไม่ต้องยื่นเพิ่มเติมก็ได้ เพราะเราสามารถนำมายื่นขอคืนได้ในเดือนถัดไปอยู่แล้ว (ไม่เกิน 6 เดือน)

      -กฎหมายระบุไว้ว่าให้นำภาษีที่ต้องชำระคูณ 1 เท่า แต่ไม่ต้องไปคูณก็ได้เพราะตัวเงินก็ได้เท่าเดิมอยู่แล้ว

  3.2กรณีไม่ได้ยื่นแบบมาก่อน

    §  ถ้าชำระภายใน 1-15 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 2% x 2 เท่า

    §  ถ้าชำระภายใน 16-30 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 5% x 2 เท่า

   §  ถ้าชำระภายใน 31-60 วัน คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 10% x 2 เท่า

   §  ถ้าชำระหลัง 60 วันไปแล้ว คิดค่าเบี้ยปรับในอัตรา 20% x 2 เท่า

หมายเหตุ

   -ถ้าไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่เสียค่าเบี้ยปรับ แต่ยังคงต้องเสียค่าปรับอาญากรณีไม่ยื่นแบบ 500 บาท

4.   การนับวัน กรณียื่นแบบเพิ่มเติมและไม่ได้ยื่นแบบ
ให้นับตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดชำระเดือนก่อน (หรือวันสุดท้ายของการยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม) ซึ่งอาจจะไม่ใช่วันที่ 15 ก็ได้ กรณีที่วันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ วันสุดท้ายของการยื่นแบบก็จะเป็นวันที่ 17
ตัวอย่างเช่น ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 15 ของเดือนก่อนและเป็นเดือนที่มีวัน 31 วัน วันครบกำหนดชำระภาษี ถ้าต้องการชำระภายใน 30 วัน จะตรงกับวันที่ 14 ของเดือนถัดไป และถ้าวันที่ 14 ตรงกับวันเสาร์-อาทิตย์ ก็ต้องไปชำระก่อน คือชำระในวันที่ 13 ถ้าไปชำระหลังวันที่ 14 จำนวนวันก็จะเกิน 30 วัน ซึ่งจะทำให้ค่าเบี้ยปรับที่ต้องเสีย ขยับจาก 5% ไปเป็น 10% แทน
อีกตัวอย่างหนึ่ง ถ้าวันสุดท้ายของการยื่นแบบตรงกับวันที่ 17 (บังเอิญเดือนก่อนวันที่ 15 ตรงกับวันเสาร์ ทำให้ตเลื่อนมาจ่ายวันจันทร์แทน) และเป็นเดือนที่มีวัน 30 วัน ถ้าชำระภายใน 30 วัน จะต้องชำระภายในวันที่ 17 ของเดือนถัดไป

หมายเหตุ  วันหยุดให้ดูที่วันหยุดราชการ ก็คือสรรพากรหยุด การนับวันถึงจะเลื่อนออกไป

ข้อมูลอ้างอิง

    §  อ้างอิง คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.81/2542 เป็นคำสั่งให้คิดค่าปรับ กรณียื่นเพิ่มเติมและไม่ยื่นแบบ ในอัตรา 1 เท่าและ 2 เท่า

    §  อ้างอิง คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ทป.81/2542 เป็นคำสั่งให้ลดเบี้ยปรับจาก 1-2 เท่าของภาษี ให้เหลือในอัตราร้อยละ 2-20%

    §  อ้างอิง คำสั่งกรมสรรพากร​ที่ ป.117/2545 เป็นคำอธิบายวิธีการนับวัน

   §  อ้างอิง ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับเงินเพิ่มเป็นตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับในอัตราร้อยละ 2-20%

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

กรณียื่นแบบ ภงด.90 ภงด.91 เกินกำหนดเวลา

     §  ค่าปรับอาญา ถ้ายื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท ถ้าเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท

     §  เงินเพิ่ม อีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน)

เบี้ยปรับเงินเพิ่ม - ภาษีเงินได้นิติบุคคล

กรณียื่นแบบ ภงด.1 ภงด.3 ภงด.53 เกินกำหนดเวลา

     §  ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 100 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 200 บาท

     §  เงินเพิ่ม อีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) กรณีไม่มีภาษีต้องเสียก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จ่ายแต่ค่าปรับอาญาเท่านั้น

         กรณียื่นแบบ ภงด.50 เกินกำหนดเวลา

     §  ค่าปรับอาญา กรณียื่นภายใน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท หากเกิน 7 วัน ปรับ 2,000 บาท

     §  เงินเพิ่ม อีกในอัตรา 1.5% ต่อเดือน (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) กรณีไม่มีภาษีต้องเสียก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จ่ายแต่ค่าปรับอาญาเท่านั้น


ค่าปรับยื่นงบการเงินล่าช้าที่กระทรวงพาณิชย์

                 การยื่นงบการเงินล่าช้าหรือไม่ได้ยื่นงบการเงิน ค่าปรับจะมีอยู่ 2 ส่วนคือ ในส่วนของกรมสรรพากร กับในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ ลองมาดูในส่วนของกรมสรรพากรกันก่อน คุณต้องเสียค่าปรับอาญายื่นแบบเกินกำหนดเวลาไม่เกิน 2,000 บาท เค้าใช้คำว่าไม่เกิน 2,000 บาท แต่แนวปฏิบัติของสรรพากรจะเรียกเก็บค่าปรับ 1,000 บาท สำหรับแบบที่ยื่นเกินกำหนดเวลา แต่ไม่เกิน 7 วัน หากเกิน 7 วัน ค่าปรับจะอยู่ที่ 2,000 บาท และต้องเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของจำนวนภาษีที่ต้องชำระ (เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) ถ้าคุณไม่มีภาษีต้องชำระก็ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม

ส่วนของกระทรวงพาณิชย์ เราแนบตารางค่าปรับมาให้ (ดููตารางค่าปรับด้านล่าง) การจ่ายค่าปรับให้ดูในเรื่องของระยะเวลา ถ้าคุณยื่นล่าช้าไม่เกิน 2 เดือน ค่าปรับจะอยู่ที่ 1,200 บาท โดยจ่ายค่าปรับในนามบริษัท 600 บาท และจ่ายค่าปรับในนามกรรมการอีก 600 บาท

คำชี้แจงเกี่ยวกับการยื่นงบการเงิน
1. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร ต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้นงบการเงินที่มีรอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี จะต้องยื่นภายในวันที่ 31 พฤษภาคมของปีถัดไป
2. บริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัด ต้องจัดทำงบการเงินขึ้นเพื่อให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบรับรอง แล้วจึงนำเสนอเพื่ออนุมัติในที่ประชุมใหญ่ โดยจะต้องจัดให้มีการประชุมเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ดังนั้น รอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี จะต้องจัดประชุมภายในวันที่ 30 เมษายน ของปีถัดไป มิฉะนั้นจะมีความผิดโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท งบการเงินที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่แล้ว จะต้องนำไปยื่นภายใน 1 เดือนนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากที่ประชุมใหญ่ เช่น 1. ประชุมเมื่อวันที่ 31 มีนาคม จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 30 เมษายน ของเดือนถัดไป 2. ประชุมเมื่อวันที่ 20 เมษายน จะต้องนำไปยื่นภายในวันที่ 20 พฤษภาคม ของเดือนถัดไป

ตารางอัตราค่าปรับสำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่มีรอบบัญชีสิ้นสุดวันที่   31   ธันวาคม   เป็นต้นไป

1.   อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าไม่เกิน  2  เดือน

ลำดับที่    ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี          ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี    กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ              รวม

1           ทุกประเภท ยกเว้นกิจการร่วมค้า                    600                             600                            1,200

2           กิจการร่วมค้า                                          600                               -                                 600

2.   อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า  2 เดือน แต่ไม่เกิน  4   เดือน

ลำดับที่   ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี         ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี     กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ                รวม

1          ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน                            1,200                           1,200                             2,400

2          บริษัทจำกัด                                        2,400                           2,400                             4,800

3          นิติบุคคลต่างประเทศ                             6,000                           6,000                            12,000

4         บริษัทมหาชนจำกัด                             12,000                          12,000                            24,000

5         กิจการร่วมค้า                                      6,000                               -                                  6,000

3.   อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า 4  เดือน แต่ไม่เกิน  6  เดือน

ลำดับที่   ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี        ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี    กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ                รวม

1          ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน                         2,400                           2,400                               4,800

2          บริษัทจำกัด                                     4,800                           4,800                               9,600

3         นิติบุคคลต่างประเทศ                         12,000                         12,000                              24,000

4         บริษัทมหาชนจำกัด                          24,000                         24,000                              48,000

5         กิจการร่วมค้า                                 12,000                                -                                12,000

4.     อัตราค่าปรับกรณียื่นงบการเงินล่าช้าเกินกว่า  6  เดือนขึ้นไป หรือไม่ยื่นงบการเงิน

ลำดับที่    ประเภทผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี      ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี    กรรมการผู้จัดการ/หุ้นส่วนผู้จัดการ               รวม

1            ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน                      3,600                          3,600                              7,200

2            บริษัทจำกัด                                  6,000                          6,000                             12,000

3           นิติบุคคลต่างประเทศ                      18,000                        18,000                             36,000

4          บริษัทมหาชนจำกัด                        36,000                        36,000                             72,000

5          กิจการร่วมค้า                               18,000                             -                                 18,000

 

www.pnkaccount.co.th

 

 


ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 81/2542

1. ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ได้แสดงการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีที่ซื้อทั้งกรณีจากการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 และจากการคำนวณภาษีที่ถูกต้อง ซึ่งการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อจำนวนที่ถูกต้องอาจเกิดจากกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีตรวจสอบความผิดเองและไปยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรืออาจเกิดจากการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งเจ้าพนักงานประเมินจะได้มีหนังสือแจ้งการประเมินภาษีต่อไป
 
2. การคำนวณเบี้ยปรับในกรณีการไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษีและส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หรือไม่ได้จัดทำรายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือลงรายการในรายงานไม่ถูกต้องครบถ้วน หรือกรณีมีสินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ เป็นการคำนวณเบี้ยปรับนอกเหนือจากการคำนวณภาษีตาม 1. ซึ่งได้อธิบายวิธีการคำนวณไว้ในคำสั่งกรมสรรพากรดังกล่าวแล้ว
 
1. กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30
     1.1    การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีต้องชำระ
          ภาษีขาย (บาท)    1,000
           ภาษีซื้อ                750
            ภาษีที่ต้องชำระ     250
     
          เงินเพิ่ม มาตรา 89/1              250 X 1.5% ต่อเดือน
          เบี้ยปรับ มาตรา 89(2)              250 X 2 เท่า
     1.2    การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีชำระเกิน
          ภาษีขาย (บาท)    1,000
          ภาษีซื้อ              1,750
          ภาษีที่ต้องชำระ          0
          ภาษีที่ชำระไว้เกิน   (750)
     
          เงินเพิ่ม มาตรา 89/1              ไม่มี
          เบี้ยปรับ มาตรา 89(2)              ไม่มี

2. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 เมื่อพ้นกำหนดเวลา ซึ่งผู้มีหน้าที่เสียภาษีต้องรับผิดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตาม 1. ไปแล้ว ต่อมาได้มีการยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติม หรือเจ้าพนักงานประเมินตรวจสอบพบความผิด
     2.1    แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีต้องชำระและการคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีต้องชำระ
     
                                        แบบ ภ.พ. 30            ความถูกต้อง            ผลต่าง
 ภาษีขาย (บาท)                         1,000                    1,600               600     ขายขาด
 ภาษีซื้อ                                      750                       400              (350)   ซื้อเกิน
ภาษีที่ต้องชำระ                             250                     1,200              950     คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา                      (70)                       (70)                 0
ภาษีต้องชำระสุทธิ                         180                     1,130               950
เงินเพิ่ม    มาตรา 89/1                                                                              950 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ   มาตรา 89(2)                                                                            950 X 2 เท่า
             มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด                                                           600 X 1 เท่า
             มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน                                                             350 X 1 เท่า
 ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(2) จำนวน 1,900 บาท

     2.2    แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีชำระไว้เกิน และการคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีชำระไว้เกิน
     
                                    แบบ ภ.พ. 30            ความถูกต้อง              ผลต่าง
 
ภาษีขาย (บาท)                      1,000                    1,600                 600     ขายขาด
ภาษีซื้อ                                2,750                     2,400               (350)    ซื้อเกิน
ภาษีที่ชำระไว้เกิน                   (1,750)                    (800)                950     คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา                   (70)                      (70)                   0
ภาษีต้องชำระไว้เกินสุทธิ           (1,820)                    (870)                950
เงินเพิ่ม    มาตรา 89/1                                                                           ไม่มี
เบี้ยปรับ  มาตรา 89(2)                                                                          ไม่มี
            มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด                                                          600 X 1 เท่า
            มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน                                                            350 X 1 เท่า
 ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(4) จำนวน 950 (600 + 350) บาท

     2.3    แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีชำระไว้เกิน แต่การคำนวณที่ถูกต้องมีภาษีต้องชำระ
     
                                  แบบ ภ.พ. 30             ความถูกต้อง           ผลต่าง
 
ภาษีขาย (บาท)                      1,000                     1,600             600     ขายขาด
ภาษีซื้อ                                2,750                     1,400         (1,350)    ซื้อเกิน
ภาษีชำระไว้เกิน                     (1,750)                      200           1,950     คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา                  (70)                       (70)                0
ภาษีชำระไว้เกินสุทธิ               (1,820)                      130           1,950
เงินเพิ่ม    มาตรา 89/1                                                                     130 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ  มาตรา 89(2)                                                                    200 X 2 เท่า
            มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด                                                   600 X 1 เท่า
            มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน                                                    1,350 X 1 เท่า
 ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(4) จำนวน 1,950 (600 + 1,350) บาท

     2.4    แบบ ภ.พ. 30 ฉบับปกติมีภาษีต้องชำระแต่การคำนวณที่ถูกต้องชำระไว้เกิน         
     
                                 แบบ ภ.พ. 30            ความถูกต้อง          ผลต่าง
 
ภาษีขาย (บาท)                    1,000                    1,600             600     ขายขาด
ภาษีซื้อ                                 750                    2,000          1,250     ซื้อขาด
ภาษีต้องชำระ                         250                      (400)          (650)    คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา                (70)                      (70)               0
ภาษีต้องชำระสุทธิ                   180                     (470)           (650)
เงินเพิ่ม      มาตรา 89/1                                                                     ไม่มี
เบี้ยปรับ    มาตรา 89(2)                                                                    ไม่มี
              มาตรา 89(4) ภาษีขายขาด                                                   600 X 1 เท่า
              มาตรา 89(4) ภาษีซื้อเกิน                                                     ไม่มี
ให้เปรียบเทียบเบี้ยปรับและเรียกเก็บจำนวนที่ได้เงินมากกว่า คือ มาตรา 89(4) จำนวน 600 บาท

3. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 ภายในกำหนดเวลา แต่กรอกตัวเลขผิดพลาดและไม่ได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องครบถ้วนพร้อมการยื่นแบบ ภ.พ. 30
     
                                 แบบ ภ.พ. 30         ความถูกต้อง         ผลต่าง
 
ภาษีขาย (บาท)                    2,500                 2,500                0
ภาษีซื้อ                              2,000                 2,000                0
ภาษีต้องชำระ                         400                    500             100
ภาษีชำระไว้เกินยกมา                (20)                   (20)               0
ภาษีต้องชำระสุทธิ                   380                    480             100
เงินเพิ่ม      มาตรา 89/1                                                             480 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ    มาตรา 89(3)                                                           ไม่มี
             มาตรา 89(4)                                                            ไม่มี

4. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 ภายในกำหนดเวลาและชำระภาษีไปแล้ว ต่อมามีการยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติมภายในกำหนดเวลาโดยชำระภาษีพร้อมการยื่นแบบเพิ่มเติม
     
                            แบบ ภ.พ. 30         ความถูกต้อง          ผลต่าง
 
ภาษีขาย (บาท)               1,500                 2,400             900      ขายขาด
ภาษีซื้อ                         1,000                    600            (400)     ซื้อเกิน
ภาษีต้องชำระ                    500                 1,800           1,300      คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา           (70)                   (70)                0
ภาษีต้องชำระสุทธิ              430                 1,730           1,300
เงินเพิ่ม      มาตรา 89/1                                                            ไม่มี
เบี้ยปรับ    มาตรา 89(3)                                                           ไม่มี
              มาตรา 89(4)                                                           ไม่มี

5. กรณียื่นแบบ ภ.พ. 30 ภายในกำหนดเวลาและชำระภาษีไปแล้ว ต่อมามีการยื่นแบบ ภ.พ. 30 เพิ่มเติมภายในกำหนดเวลา โดยไม่ได้ชำระภาษีพร้อมการยื่นแบบเพิ่มเติม
     
                          แบบ ภ.พ. 30          ความถูกต้อง         ผลต่าง
 
ภาษีขาย (บาท)              1,500                 2,400            900     ขายขาด
ภาษีซื้อ                        1,000                    600           (400)   ซื้อเกิน
ภาษีต้องชำระ                   500                  1,800         1,300   คลาดเคลื่อน
ภาษีชำระไว้เกินยกมา         (70)                    (70)               0
ภาษีต้องชำระสุทธิ             430                 1,730          1,300
เงินเพิ่ม     มาตรา 89/1                                                      1,300 X 1.5% ต่อเดือน
เบี้ยปรับ    มาตรา 89(3)                                                    ไม่มี
              มาตรา 89(4)                                                    ไม่มี

https://www.rd.go.th/

วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที

ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป

เขียนโดย

ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป
ผู้ประกอบการจดทะเบียนโดยทั่วไป มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปให้แก่ผู้ซื้อ
สินค้าหรือบริการ (เว้นแต่ ผู้ประกอบกิจการค้าปลีกซึ่งมีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ) โดยใบกำกับภาษี
แบบเต็มรูปต้องมีรายการอย่างน้อยดังต่อไปนี้
1. คำว่า “ใบกำกับภาษี” ในที่ที่เห็นได้เด่นชัด
 คำว่า “ใบกำกับภาษี” เป็นข้อความที่กฎหมายบังคับให้ต้องระบุไว้ในเอกสารซึ่งมีความ
มุ่งหมายให้เป็นใบกำกับภาษี นอกจากนี้ ในกรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะจัดทำใบกำกับภาษีแบบ
เต็มรูปรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น เช่น ใบเสร็จรับเงิน ใบส่งของ ใบแจ้งหนี้ ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับอยู่ใน
ชุดเดียวกัน และใบกำกับภาษีมิใช่เอกสารฉบับแรกของเอกสารดังกล่าว ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
 (1) ในใบกำกับภาษีและสำเนาใบกำกับภาษีของเอกสารชุดดังกล่าว จะต้องมีข้อความว่า
“เอกสารออกเป็นชุด” ไว้ด้วย
 (2) ในสำเนาของใบกำกับภาษี จะต้องมีข้อความว่า “สำเนาใบกำกับภาษี” ไว้ด้วย
ข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และ “สำเนาใบกำกับภาษี” ตามวรรคหนึ่ง จะต้องตีพิมพ์ขึ้นหรือจัดทำขึ้น
ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ จะประทับด้วยตรายาง
เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือกระทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นในลักษณะทำนองเดียวกันไม่ได้
2. รายการคำว่า “ชื่อ ที่อยู่ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการ
จดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี”
 (ก) ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อการค้าของสถาน
ประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ชื่อของผู้ออกใบกำกับภาษีจะใช้ชื่อย่อไม่ได้

     กรณีชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีหรือผู้รับใบกำกับภาษีที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล คำที่
บอกสถานะสามารถใช้คำย่อแทนได้ ดังนี้
(1) บริษัท จำกัด ใช้คำย่อว่า บ. ... จก. หรือ บจ.
(2) บริษัท (มหาชน) จำกัด ใช้คำย่อว่า บมจ. ...
(3) ห้างหุ้นส่วนจำกัด ใช้คำย่อว่า หจก. ...
(4) ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ใช้คำย่อว่า หสน. ...
 (ข) ที่อยู่ของผู้ออกใบกำกับภาษี หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการตามที่ได้
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) ไว้
     กรมสรรพากรได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ฉบับที่ 199) ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2556 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ได้จัดทำใบกำกับภาษี
แบบเต็มรูป จะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถานประกอบการ ซึ่งเป็นสถานที่ขายสินค้าหรือให้บริการ
ไว้ในใบกำกับภาษี ดังนี้
     (1) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนไว้ในทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภ.พ.20) ของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเป็นสำนักงานใหญ่ ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่”
หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็นสำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ.” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลข
ศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงาน
ใหญ่ ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
     (2) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนไว้ในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
(ภ.พ.20) ของผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเป็นสาขา ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ ...” โดยเลขที่ของสาขา
ให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ เช่น “สาขาที่ ...” “Branch No. …” “br.no …”
เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ...” เช่น 00001 ไว้ใน
ใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
ข้อสังเกต
    ข้อความตาม (1) (2) จะตีพิมพ์ หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับด้วย
ตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด ก็ได้ ทั้งนี้ สำหรับการจัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปที่ได้จัดทำตั้งแต่วันที่
1 มกราคม พ.ศ. 2558 เป็นต้นไป
     (ค) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ออกใบกำกับภาษี
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้กำหนดให้
ผู้เสียภาษีสรรพากรทุกประเภท ทั้งที่เป็นบุคคลธรรมดา คณะบุคคล บริษัท และห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลัก แทนเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 10 หลัก ที่ใช้อยู่เดิมในการยื่น
แบบแสดงรายการ การชำระภาษี การหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย การติดต่อราชการกับกรมสรรพากร รวมทั้ง
การจัดเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจัดทำใบกำกับภาษี การจัดทำใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
โดยการใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร 13 หลักนั้น ได้แบ่งการใช้ออกตามประเภทของผู้เสียภาษีอากร ดังนี้

     (1) ผู้เสียภาษีประเภทบุคคลธรรมดา ให้ใช้เลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก
ที่กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ออกให้ เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
     (2) ผู้เสียภาษีประเภทนิติบุคคลไทย หรือนิติบุคคลต่างประเทศ ที่ต้องจดทะเบียน
หรือขออนุญาตกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ให้ใช้เลขทะเบียนนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจ
การค้า กระทรวงพาณิชย์ ออกให้ เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร
     (3) ผู้เสียภาษีที่ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้ใช้เลขประจำตัวผู้เสียภาษี
อากร 13 หลัก ที่กรมสรรพากรออกให้
3. รายการ “ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ”
 (ก) “ชื่อ” ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ หมายถึง ชื่อผู้ประกอบการตามที่ได้
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือชื่อสถานประกอบการ หรือชื่อการค้าของสถานประกอบการตามที่ได้
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีบุคคลธรรมดาหมายความรวมถึง นามสกุลด้วย
 (ข) “ที่อยู่ของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ” หมายถึง ที่ตั้งของสถานประกอบการ
ตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป กรมสรรพากรได้มีประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 199) ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2556 กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน
ที่ได้จัดทำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป จะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ
ซึ่งเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนไว้ในใบกำกับภาษี รวมทั้งจะต้องระบุข้อความรายการเกี่ยวกับสถาน
ประกอบการของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในใบกำกับภาษี ดังนี้
 (1) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือ
ผู้รับบริการเป็นสำนักงานใหญ่ ให้ระบุข้อความคำว่า “สำนักงานใหญ่” หรือระบุคำย่อที่แสดงได้ว่าเป็น
สำนักงานใหญ่ เช่น “สนญ.” “HO” “HQ” เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000)
เพื่อแสดงว่าตัวเลขศูนย์จำนวนห้าหลัก (00000) เป็นรหัสของสำนักงานใหญ่ไว้ในใบกำกับภาษีดังกล่าวด้วย
(2) กรณีสถานประกอบการตามที่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ซื้อสินค้าหรือ
ผู้รับบริการเป็นสาขา ให้ระบุข้อความคำว่า “สาขาที่ ...”โดยเลขที่ของสาขาให้ระบุเลขที่สาขาตามที่ได้
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น สาขาที่ 1 สาขาที่ 01 เป็นต้น หรือระบุเป็นตัวเลขจำนวนห้าหลักตามที่
ปรากฏในใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อแสดงว่าเป็นรหัสของ “สาขาที่ ...” เช่น 00001 ไว้ในใบกำกับภาษี
ดังกล่าวด้วย
 ข้อสังเกต
 โดยข้อความตามข้อ (1) ข้อ (2) จะตีพิมพ์ หรือจัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ประทับ
ด้วยตรายาง เขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด หรือทำให้ปรากฏขึ้นด้วยวิธีการอื่นใดในลักษณะทำนองเดียวกันก็ได้

http://www.rd.go.th/

 

วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที

กรณีที่ไม่ต้องออกใบกำกับภาษี

เขียนโดย

กรณีที่ไม่ต้องออกใบก ากับภาษี
ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือให้บริการ ต้องออกใบก ากับภาษีทุกครั้งที่มี
การขายสินค้าหรือการให้บริการ เว้นแต่ ในกรณีดังต่อไปนี้ มีกฎหมายและแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากร
ให้สิทธิเลือกไม่ต้องออกใบก ากับภาษีก็ได้
1. การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อย
 ก าหนดให้กิจการรายย่อยไม่ต้องออกใบก ากับภาษีส าหรับการขายสินค้าหรือ
การให้บริการที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการจะเรียกร้องใบก ากับ
ภาษี ส าหรับกิจการดังต่อไปนี้
 1.1 การขายสินค้าหรือให้บริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่เคยมีมูลค่าของฐาน
ภาษีในเดือนใดถึง 300,000 บาท
 1.2 การขายสินค้าหรือให้บริการซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนมีสถานประกอบการ
แต่ละแห่งเป็นรถเข็น แผงลอย หรือหน่วยงานที่มีลักษณะท านองเดียวกัน
 1.3 การให้บริการการแสดง การเล่น การกีฬา การแข่งขัน การประกวดหรือ
การกระท าใด ๆ ในลักษณะท านองเดียวกันที่จัดขึ้นเพื่อเก็บเงินจากผู้ดู ผู้ฟัง ผู้เล่น หรือผู้เข้าแข่งขัน
 1.4 การประกอบกิจการให้บริการโทรศัพท์สาธารณะ
4
 1.5 การประกอบกิจการให้บริการทางพิเศษหรือทางหลวงสัมปทาน
 1.6 การประกอบกิจการให้บริการสนามบิน
 1.7 การประกอบกิจการให้บริการสาธารณะที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการขนส่งมวลชน เช่น
การให้บริการสถานที่จอดรถหรือให้บริการห้องสุขาแก่ประชาชนผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้า
2. การขายน้ ามันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ ามัน
 การขายน้ ามันเชื้อเพลิงของสถานบริการน้ ามันโดยผ่านมิเตอร์หัวจ่ายอันมีลักษณะเป็น
การขายสินค้าหรือให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจ านวนมาก มีสิทธิที่จะขายน้ ามันเชื้อเพลิงโดยไม่ต้องออก
ใบก ากับภาษีส าหรับการขายน้ ามันเชื้อเพลิงที่มีมูลค่าครั้งหนึ่งไม่เกิน 1,000 บาท เว้นแต่ผู้ซื้อสินค้า
จะเรียกร้องใบก ากับภาษี โดยจะต้องยื่นค าขออนุมัติต่ออธิบดีกรมสรรพากรพร้อมแนบเอกสารหลักฐาน ได้แก่
ส าเนา ภ.พ.20 ส าเนาใบอนุญาตเป็นผู้ค้าน้ ามัน หรือใบทะเบียนจัดตั้งสถานีบริการน้ ามันตามกฎหมายว่าด้วย
การค้าน้ ามันเชื้อเพลิง และแผนผังแสดงที่ตั้งพร้อมทั้งจ านวนหัวจ่ายน้ ามันเชื้อเพลิงและถังเก็บน้ ามันตาม
กฎหมาย

http://www.rd.go.th/

วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที

การออกใบกำกับภาษี

เขียนโดย

การออกใบก ากับภาษี
กรณีการขายสินค้า
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดท าใบก ากับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบ
ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าในทันทีที่มีการส่งมอบสินค้า หรือเมื่อได้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้กับผู้ซื้อก่อนส่งมอบ
สินค้า หรือเมื่อได้รับช าระราคาสินค้าก่อนส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ แล้วแต่กรณี
กรณีการให้บริการ
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดท าใบก ากับภาษี พร้อมทั้งส่งมอบ
ให้แก่ผู้รับบริการในทันทีที่ได้รับช าระค่าบริการ หรือเมื่อได้มีการใช้บริการนั้นไม่ว่าโดยตนเองหรือบุคคลอื่น
ก่อนได้รับช าระค่าบริการ แล้วแต่กรณี
นอกจากนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องจัดท าส าเนาใบก ากับภาษี และเก็บรักษา
ส าเนาใบก ากับภาษีไว้ ณ สถานประกอบการ หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีก าหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
2

วัน, วันที่ เดือน ปี ชม:นาที

ภาษีซื้อต้องห้าม

เขียนโดย

ภาษีซื้อต้องห้าม
การที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีซื้อที่จะขอคืนจะต้องทราบว่า ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้แบ่งภาษีซื้อไว้ดังนี้
       
       1. ภาษีซื้อขอคืนได้ หรือ เครดิตภาษีขายได้
       
       2. ภาษีซื้อต้องห้าม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
       
       2.1 ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่นำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ ซึ่งได้แก่
       
       2.1.1 ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายเพื่อการรับรองหรือเพื่อการอันมีลักษณะทำนองเดียวกันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนด
       
       2.1.2 ภาษีซื้อตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 42
      2.2 ภาษีซื้อห้ามขอคืน และห้ามถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ ซึ่งได้แก่ภาษีซื้อในกรณีดังต่อไปนี้ ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
       
       (1) กรณีไม่มีใบกำกับภาษีหรือไม่อาจแสดงใบกำกับภาษีได้ว่ามีการชำระภาษีซื้อ เว้นแต่จะเป็นกรณีมีเหตุอันสมควร
       
       (2) กรณีใบกำกับภาษีมีข้อความไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ
       
       (3) ภาษีซื้อที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการประกอบกิจการของผู้ประกอบการ
       
       (4) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีซึ่งออกโดยผู้ที่ไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษี
       
        ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้จดทะเบียนอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องทำความเข้าใจภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละขั้นตอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขอภาษีซื้อตลอดจนหลักฐานในใบกำกับภาษีซื้อที่จะต้องเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี เพื่อให้เจ้าพนักงานประเมินของกรมสรรพากรตรวจสอบได้ และเมื่อมีใบกำกับภาษีซื้อเกิดขึ้นจะต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นที่ภาษีซื้อบางประเภทอาจไม่สิทธิขอคืนก็ได้

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร  
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 42)

เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/5 (6) แห่งประมวลรัษฎากร

      อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 อธิบดีกรมสรรพากรโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษี ไว้ดังต่อไปนี้

      ข้อ 1  ให้ยกเลิกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 14) เรื่อง การกำหนดภาษีซื้อที่ไม่ให้นำไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 82/5(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534

      ข้อ 2  ภาษีซื้อดังต่อไปนี้ ไม่ให้นำมาหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร

          “(1) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต”  
                “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง และการให้บริการรับประกันวินาศภัยสำหรับรถยนต์ดังกล่าว”  
          (2) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีอย่างย่อตามมาตรา 86/6 และมาตรา 86/7 แห่งประมวลรัษฎากร

          (3) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อทรัพย์สินเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

          (4) ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้ขาย หรือให้เช่าหรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้กระทำภายในสามปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์

                “ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสำหรับภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารหรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและต่อมาได้ขายหรือให้เช่าหรือนำไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม อันเนื่องมาจาก  
               “(ก) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่กระทำกับลูกหนี้ของสถาบันการเงิน โดยได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนด และได้กระทำภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547

               (ข) การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของเจ้าหนี้อื่นที่กระทำกับลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น โดยได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศกำหนดมาใช้โดยอนุโลม และได้กระทำภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2547 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547”  
                “(ค) การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามกฎหมายว่าด้วยการล้มละลาย”

  “(ง) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ที่ได้ควบเข้ากัน หรือโอนกิจ

การทั้งหมดให้แก่กัน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ได้ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 330) พ.ศ.2541”  
                “(จ) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของบริษัทมหาชนจำกัด หรือบริษัทจำกัด ที่ได้โอนกิจการบางส่วนระหว่างกันตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ได้ออกตามพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 411) พ.ศ. 2545”  
                “(ฉ) การแปรรูปกิจการของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ”  
                “(ช) การแปรรูปกิจการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี ”  
                “(ซ) การเปลี่ยนทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นหุ้นในรูปแบบของบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ตามกฎหมายว่าด้วยทุนรัฐวิสาหกิจ”  
                “ใน (ก) และ (ข) ของวรรคสอง

                สถาบันการเงิน หมายความว่า

                (1) ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์

                (2) ธนาคารออมสิน

                (3) บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์

                (4) บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์

                (5) สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม”  
                “(6) บรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบรรษัทบริหารทรัพย์สถาบันการเงิน”  
                “เจ้าหนี้อื่น หมายความว่า เจ้าหน้าที่มิใช่สถาบันการเงินซึ่งได้ดำเนินการเจรจาร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ และได้ทำความตกลงเป็นหนังสือร่วมกับเจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงิน

                ลูกหนี้ของสถาบันการเงินให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ด้วย

                ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น หมายความว่า ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่นซึ่งเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินด้วย และให้หมายความรวมถึงผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ด้วย”  
            (5) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งรายการตามมาตรา 86/4(1) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้ตีพิมพ์ขึ้น หรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ

            (6) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งรายการตามมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากรมิได้จัดทำขึ้นตามวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 86/4(8) แห่งประมวลรัษฎากร

            (7) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนา (copy) แต่ไม่รวมถึงใบกำกับภาษีที่ได้จัดทำรวมกับเอกสารทางการค้าอื่น ซึ่งมีจำนวนหลายฉบับ และใบกำกับภาษีซึ่งมีรายการในใบกำกับภาษีเป็นสำเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย

            (8) ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร

            (9) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนนำไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการจดทะเบียนดังกล่าวใช้สิทธิเลือกไม่นำภาษีซื้อทั้งหมดไปหักในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด ทั้งนี้ ตามข้อ 3(2) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2535

            “(10) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งรายการตามมาตรา 86/4 ได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง เว้นแต่รายการซึ่งได้ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด”  
            (11) ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ หรือรับโอนรถยนต์ที่มิใช่รถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อใช้หรือจะใช้ในกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และต่อมาได้มีการดัดแปลงรถยนต์ดังกล่าวเป็นรถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ทั้งนี้ เฉพาะที่ได้กระทำภายในสามปีนับแต่เดือนภาษีที่ได้รถยนต์ไว้ในครอบครอง

                    ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสำหรับการขายรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต และการให้บริการเช่ารถยนต์ดังกล่าวของตนเองโดยตรง

            (12) ภาษีซื้อตามใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งรายการตามมาตรา 86/4(2) แห่งประมวลรัษฎากร มิได้ตีพิมพ์ขึ้น หรือมิได้จัดทำขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทำใบกำกับภาษีขึ้นด้วยระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ”  
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 50) ใช้บังคับ 1 เมษายน 2537 เป็นต้นไป)

            ”ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับสำหรับใบกำกับภาษีที่ออกโดยผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งได้เปลี่ยนสถานะจากรัฐวิสาหกิจประเภทองค์การของรัฐตามที่มีกฎหมายจัดตั้ง ทั้งนี้ เฉพาะใบกำกับภาษีที่ได้ออกในช่วงระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด”  
              ข้อ 3  ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันออกประกาศนี้ เว้นแต่ ข้อ 2(5) และ (6) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2536 เป็นต้นไป  

ประกาศ ณ วันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2535

ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล

อธิบดีกรมสรรพากร

https://www.rd.go.th/

เลขที่หนังสือ: กค 0811/17427

วันที่: 25 ธันวาคม 2541

เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีเฉลี่ยภาษีซื้อจากการก่อสร้างอาคาร

ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/6, มาตรา 83/4, มาตรา 89, มาตรา 89/1, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ

ข้อหารือ: บริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7.0 โดยมี
วัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการเป็นตัวแทนจำหน่ายและซ่อมแซมรถยนต์ บริษัทฯ ได้เริ่มทำ
การก่อสร้างอาคาร เพื่อใช้เป็นที่แสดงรถยนต์และสำนักงานขาย โดยได้รับอนุมัติให้ก่อสร้างอาคารรวม
3 อาคาร โดยเริ่มก่อสร้างอาคารเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2537 และวันที่ 22 ธันวาคม 2539 ก่อสร้าง
อาคารแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2539 ต่อมาได้ทำสัญญาให้เช่าพื้นที่อาคารบางส่วนให้กับบริษัท
ก. บริษัท ข. และบริษัท ค. รวม 3 สัญญาโดยบริษัทฯ มีรายได้จากการให้เช่าพื้นที่ภายในอาคาร
สำนักงานดังกล่าว
ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม ภ.พ.30 ตั้งแต่เริ่มจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
บริษัทฯ ได้นำค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอาคารทั้งหมดของสำนักงานมาใช้ในการคำนวณภาษีซื้อ โดยบริษัทฯ
มิได้แจ้งรายการประมาณการการใช้พื้นที่อาคาร ตามแบบ ภ.พ.05.1 ภ.พ.05.2 และ ภ.พ.05.3
ภายในกำหนดเวลาตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ เรื่อง
กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่
9 มีนาคม พ.ศ. 2535 เนื่องจากบริษัทฯ เข้าใจผิดว่า รายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ มีไม่เกิน
ร้อยละ 10 ของรายได้ทั้งสิ้น จึงมีสิทธินำภาษีซื้อของการก่อสร้างอาคารดังกล่าวมาหักออกจากภาษีขาย
เมื่อบริษัทฯ ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ว่าภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในกิจการของตนเอง
ซึ่งเป็นกิจการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และเพื่อการอื่น ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อ
ดังนั้นบริษัทฯ จึงขอขยายเวลายื่นแบบ ภ.พ.05.1 ภ.พ.05.2 และ ภ.พ.05.3 ถึงวันที่ 23
ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่บริษัทฯ ได้มายื่นแบบดังกล่าวเพื่อขอเฉลี่ยภาษีซื้อ และในการยื่นแบบล่าช้า
บริษัทฯ ไม่มีเจตนาหลบเลี่ยงภาษีอากรแต่ประการใด


ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร

เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)

เรื่อง    กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อตามมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร

 

                อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากรกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อที่จะนำมาหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรไว้ ดังต่อไปนี้
 

                ข้อ 1  กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำสินค้าหรือบริการที่ได้มาหรือได้รับมาในการประกอบกิจการของตนไปใช้หรือจะใช้ในกิจการทั้งสองประเภทถ้าสามารถแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการดังกล่าวเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ถือเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น ๆ

 
                ข้อ 2  นอกจากกรณีตามข้อ 5 ถ้าผู้ประกอบการจดทะเบียนประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและผู้ประกอบการจดทะเบียนได้นำสินค้าหรือบริการที่ได้มาหรือได้รับมาในการประกอบกิจการของตนไปใช้หรือจะใช้ในกิจการทั้งสองประเภท ถ้าไม่สามารถแยกได้อย่างชัดแจ้งว่าภาษีซื้อที่เกิดจากสินค้าหรือบริการดังกล่าวเป็นภาษีซื้อของกิจการประเภทใด ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของแต่ละกิจการ ดังนี้

                           (1) กรณีผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเริ่มประกอบกิจการ หรือได้ประกอบกิจการมาแล้วแต่ยังไม่มีรายได้ ให้ประมาณการรายได้ของกิจการทั้งสองประเภทของปีที่เริ่มมีรายได้

                                 ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของประมาณการรายได้ดังกล่าว และให้นำภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้ตามส่วนของประมาณการรายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมาหักออกจากภาษีขาย แต่ภาษีซื้อดังกล่าวจะต้องมีจำนวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของภาษีซื้อที่นำมาเฉลี่ย

                                 สำหรับในปีถัดจากปีที่เริ่มประกอบกิจการและยังไม่มีรายได้ถึงสิ้นปีของปีที่เริ่มมีรายได้ ให้เฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของประมาณการรายได้ตามเกณฑ์ในวรรคหนึ่งและวรรคสอง

                                 เมื่อสิ้นปีที่เริ่มมีรายได้ ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนคำนวณภาษีซื้อที่หักได้จริงตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้ปรับปรุงภาษีซื้อที่ได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้วตามหลักเกณฑ์ตาม (2)

                                 ปีที่เริ่มมีรายได้ให้หมายถึง ปีแรกที่มีรายได้เกิดขึ้นจริงไม่น้อยกว่า 6 เดือนภาษี

                           (2) การปรับปรุงภาษีซื้อตาม (1) ให้กระทำในเดือนภาษีถัดจากเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ โดยให้ปรับปรุงตั้งแต่เดือนภาษีแรกที่ได้มีการเฉลี่ยภาษีซื้อถึงเดือนภาษีสุดท้ายของปีที่เริ่มมีรายได้ ดังนี้

                                 (ก) ในกรณีภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้ว มีจำนวนเกินกว่าภาษีซื้อที่หักได้จริง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนชำระภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้นพร้อมกับยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มอีกหนึ่งฉบับ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนภาษีที่มีการปรับปรุงภาษีซื้อและให้นำภาษีซื้อส่วนที่เกินนั้นซึ่งยังมิได้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการ ไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกี่ยวข้อง

                                 (ข) ในกรณีภาษีซื้อที่เฉลี่ยได้และได้นำมาหักออกจากภาษีขายแล้วมีจำนวนน้อยกว่าภาษีซื้อที่หักได้จริง ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นคำร้องขอคืนภาษีซื้อส่วนที่ขาดนั้น ตามแบบที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด และให้นำภาษีซื้อส่วนที่ขาด ซึ่งได้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการแล้วไปหักออกจากมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินหรือรายจ่ายของกิจการในปีที่เกี่ยวข้อง

                           (3) สำหรับปีถัดจากปีที่เริ่มมีรายได้เป็นต้นไป ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ของปีที่ผ่านมาโดยไม่ต้องปรับปรุงภาษีซื้ออีก และในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนประสงค์จะปรับปรุงภาษีซื้อให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงทั้งปีของกิจการทั้งสองประเภทก็ให้กระทำได้ ทั้งนี้ ให้นำหลักเกณฑ์ตาม (2) มาใช้บังคับโดยอนุโลมและเมื่อได้เลือกปฏิบัติเป็นอย่างใดแล้ว ก็ให้ถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกันตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลงได้

                                 รายได้ของปีที่ผ่านมาตามวรรคหนึ่ง หมายถึง รายได้ของปีก่อนปีปัจจุบัน 1 ปี

                           (4) การปรับปรุงภาษีซื้อตามข้อนี้ ผู้ประกอบการจดทะเบียนไม่ต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามมาตรา 89 และมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร

 

เลขที่หนังสือ: กค 0706/พ.ก 002

วันที่: 2 กุมภาพันธ์ 2547

เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการขออนุมัติเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อ

ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/3, มาตรา 82/6, มาตรา 89/4, ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ

ข้อหารือ: สำนักงานสรรพากรภาคแจ้งว่า บริษัท พ. ได้ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อ
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2544 โดยปรากฏข้อเท็จจริงดังนี้
1. บริษัทฯ ประกอบกิจการขายปลีก ขายส่ง และส่งออกสัตว์น้ำแช่แข็ง และ แปรรูปสัตว์น้ำ
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2541 บริษัทฯ เริ่มยื่นแบบแสดงรายการ ภ.พ.30
ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2541 และเริ่มมีรายรับจากการประกอบกิจการตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2542
2. บริษัทฯ ประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและประเภทที่ไม่ต้องเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่มิได้เฉลี่ยภาษีซื้อตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของประกาศอธิบดี กรมสรรพากร
เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยบริษัทฯได้ยื่น
แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) สำหรับเดือนพฤศจิกายน 2541 ถึงเดือนธันวาคม 2543
โดยขอคืนภาษีซื้อทั้งจำนวน ต่อมา สำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้ตรวจปฏิบัติการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ
ภ.พ.30 ของบริษัทฯ และพบว่าบริษัทฯ มิได้ทำการเฉลี่ยภาษีซื้อของกิจการประเภทที่ต้องเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มและกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฯ ฉบับ
ดังกล่าว สำนักงานสรรพากรพื้นที่จึงได้ดำเนินการปรับปรุงภาษีซื้อของบริษัทฯ ตามส่วนของ รายได้ที่
เกิดขึ้นจริงของกิจการทั้งสองประเภทสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 และ 2543 ในอัตราส่วน
ร้อยละ 50.85 : 49.15 และ 88.29 : 11.71 ตามลำดับ
สำหรับเดือนมกราคม - ธันวาคม 2544 บริษัทฯ ยื่นแบบ ภ.พ.30 โดยเฉลี่ยภาษีซื้อของ
กิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามส่วนของรายได้ของ
รอบระยะเวลาบัญชีปี 2543 โดยเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีปี 2544 บริษัทฯ ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30.2
ปรับปรุงภาษีซื้อที่บริษัทฯ ได้เฉลี่ยตามส่วนของรายได้ของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543(อัตราส่วนร้อยละ
88.29 : 11.71) ให้เป็นไปตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2544 ใน
อัตราส่วนร้อยละ 99.53 : 00.47 แต่เนื่องจากรายได้ของกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมี
จำนวนไม่ น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด บริษัทฯ จึงได้ขอคืนภาษีซื้อทั้งจำนวน คิด
เป็นภาษีซื้อที่ขอคืนทั้งสิ้น 293,119.97 บาท ซึ่งสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้พิจารณาสั่งไม่คืน
ภาษีมูลค่าเพิ่มตามแบบ ภ.พ.30.2 ดังกล่าว เนื่องจากการเฉลี่ยภาษีซื้อของบริษัทฯ ไม่เป็นไปตามข้อ
2(3) ของประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 29)ฯ ลงวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.
2535
3. บริษัทฯ ได้ยื่นคำร้องขอเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับรอบระยะเวลาบัญชี
ปี 2544 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2545 โดยให้เหตุผลว่า ตั้งแต่รอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 - 2543
บริษัทฯ ไม่เคยได้รับการตรวจและสั่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มและไม่ทราบว่าการยื่นแบบแสดงรายการ
ภาษีมูลค่าเพิ่มมาตั้งแต่ต้นถูกต้องหรือไม่ จนกระทั่งสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้ทำการตรวจก่อนคืนภาษี
สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 - 2543 โดยคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามส่วนของรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของ
รอบระยะเวลาบัญชีปีนั้น ๆ และแจ้งให้บริษัทฯ เฉลี่ยภาษีซื้อในการยื่นแบบ ภ.พ.30 สำหรับเดือน
มกราคม - ธันวาคม 2544 โดยใช้ฐานรายได้ที่เกิดขึ้นจริงของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2543
บริษัทฯ เข้าใจว่า เมื่อสำนักงานสรรพากรพื้นที่ได้พิจารณาคืนภาษีซื้อสำหรับเดือนมกราคม -
ธันวาคม 2542 และ มกราคม - ธันวาคม 2543 ให้บริษัทฯ โดยได้ทำการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของ
รายได้ที่เกิดขึ้นจริงในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2542 และ 2543 แล้ว บริษัทฯ สามารถยื่นแบบ ภ.พ.
30.2 เพื่อปรับปรุงภาษีซื้อของรอบระยะเวลาบัญชีปี 2544 ได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากอธิบดี
กรมสรรพากร

เลขที่หนังสือ: กค 0702/1467

วันที่: 10 เมษายน 2551

เรื่อง: ภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการเฉลี่ยภาษีซื้อตามส่วนของรายได้ ราย บริษัท ภูเก็ต เป๋าฮื้อ ฟาร์ม จำกัด

ข้อกฎหมาย: มาตรา 82/3 และมาตรา 82/6 แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อหารือ         1. บริษัทฯ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่จังหวัด ก. และมีสำนักงานสาขาที่จังหวัด พ. ประกอบกิจการ เพาะเลี้ยงหอยเป๋าฮื้อ เพื่อส่งออก ขายในประเทศและแปรรูปขายในประเทศ มีรายได้จากกิจการประเภท ที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมดของปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ ยื่นแบบ ภ.พ.30 รวมกัน ณ สำนักงานใหญ่ โดยใช้วิธีเฉลี่ยภาษีซื้อตามยอดรายได้ของปีที่ผ่านแล้วนำมา เครดิตภาษี บริษัทฯ ได้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีพฤษภาคม 2550 ที่ชำระไว้เกิน โดยภาษีซื้อ ที่ขอคืนนั้นมีบางส่วนเป็นภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารรวมอยู่ด้วย